ไอเดียบ้านคอนเทนเนอร์
ไอเดียบ้านคอนเทนเนอร์ โดดเด่นทุกรูปแบบ
ไอเดียบ้านคอนเทนเนอร์ บ้านตู้คอนเทนเนอร์ คือ ตู้ขนส่งสินค้า ที่ถูกนำมาใช้ปรับแต่ง และออกแบบให้เป็นตัวบ้าน โดยมีทั้งแบบซื้อสำเร็จรูป หรือปลูกสร้างเอง เริ่มมีทั้งแบบ 1 ชั้น ไปจนถึง 2 ชั้น อีกทั้งยังมีตู้คอนเทนเนอร์แบบมือหนึ่ง และแบบมือสอง ที่สำคัญอย่างที่ เราได้กล่าวไป ข้างต้นนี้แล้วว่า บ้านตู้คอนเทนเนอร์ นอกจากจะใช้เป็นบ้านที่อยู่อาศัยแล้ว ยังเป็นได้ทั้งสำนักงาน รีสอร์ท ร้านค้า และคาเฟ่ เป็นต้น
ซึ่งบ้านตู้คอนเทนเนอร์นั้น มีจุดเด่นตรงที่ มีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยม โดยไม่ต้องตกแต่งต่อเติมอะไรมากมาย ตกแต่งเพียงแค่ทาสี บุฉนวนกันความร้อน จากนั้นคุณยังสามารถกั้น เป็นพื้นที่ส่วนภายใน บ้านตู้คอนเทนเนอร์ หรือทำการเจาะ เพื่อทำเป็นหน้าต่าง รับแสงสว่างจากด้านนอก เข้าสู่ด้านใน ให้ดูปลอดโปร่งมากยิ่งขึ้น
ในขณะเดียวกัน คุณยังสามารถนำ ตู้คอนเทรนเนอร์หลายตู้ มาจัดวางใหม่ เพื่อทำให้ที่อยู่ อาศัยดูกว้างขึ้น และยังสามารถต่อเติมทางเข้าบ้านตู้คอนเทน เนอร์มุมต่าง ๆ นอกตัวบ้านตู้คอนเทนเนอร์ ได้อย่างอิสระ และนี่คือจุดเด่นของบ้านตู้คอนเทนเนอร์ สามารถตอบทุกคำถามได้ว่า ทำไมบ้านตู้คอนเทนเนอร์ ไทย จึงได้รับความนิยมมากขึ้น

แบบบ้านตู้สีดำเท่ๆ กลางป่า
บ้านตู้คอนเทนเนอร์ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ สำหรับคนอยากมีบ้าน แบบไม่สิ้นเปลืองงบประมาณมาก คนโสดที่ต้องการบ้านหลังเล็ก ๆ หรือโฮมออฟฟิศเท่ ๆ อาร์ตสตูดิโอขนาดกะทัดรัด เนื่องจากหาซื้อง่าย ตกแต่งเสร็จไว ในราคาที่ไม่ทำร้ายกระเป๋าจนเกินไป บ้านเดี่ยว ตู้คอนเทนเนอร์ หลังนี้ ก็เช่นเดียวกัน เป็นอีกหนึ่งโปรเจ็คบ้านพักนอก เมืองในรัฐโอไฮโอ ของคู่รักที่ชอบ การออกแบบภาชนะขนส่งสี่เหลี่ยมนี้ ให้ออกมาเป็นอาณาจักรเล็ก ๆ ที่เต็มไปด้วยความสะดวก และสบาย

เมื่อ Troy และ Dianna Shurtz เจ้าของ Creative Cabinets, Ltd ซึ่งอาศัยอยู่ใกล้ Lancaster, Ohio คิดที่จะออกแบบ และสร้างบ้านคอนเทนเนอร์เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อน พวกเขาเลือกทำใกล้ๆ กับ Hocking Hills State Park ซึ่งเป็นพื้นที่ทางใต้ของแลงคาสเตอร์ด้วยเหตุผลที่ว่า Dianna ใช้เวลาส่วนใหญ่ที่นี่ตั้งแต่เด็ก เมื่อได้ไปเดินป่าหรือไปเยี่ยมคุณพ่อที่นั่นก็รู้สึกเหมือนตัวเองได้กลับไปในช่วงเวลาที่สวยงามนั้นอีกครั้ง บ้านจัดสรร
Lily Pad เป็นบ้านตู้คอนเทนเนอร์ทาสีดำมันวาวขนาด 26 ที่เกิดจากความชื่นชอบตู้คอนเทนเนอร์ จึงต้องการสร้างสิ่งที่ไม่เหมือนใครและพิเศษสำหรับที่นี่ และใช้ไม้โอ๊คสีขาวเป็นเสา
และส่วนกรอบประตูหน้าต่างให้ความรู้สึกอบอุ่นและตัดกับสีดำเงาด้านนอก และทำหลังคาเฉียงสูงคลุมตู้ไว้อีกชั้น เป้าหมายเพื่อปกป้องพื้นที่ภายในและเพิ่มเฉลียงสำหรับพื้นที่ใช้ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ก็ยังคงหลบลม ฝน และหิมะได้อยู่

เชื่อมต่อภายนอกเข้าเป็นส่วนของบ้าน
เฉลียงกว้าง ๆ สำหรับนั่งเล่นชมวิว นอกบ้านสบาย ๆ มีชุดโต๊ะเก้าอี้สำหรับ 4 ที่นั่ง ถัดไป เป็นโซฟาชิงช้านอนเล่นได้สบาย ๆ เหมาะสำหรับ วันพักผ่อนของครอบครัวเล็ก ๆ เราต้องการแสงธรรมชาติ จำนวนมาก และนำสายตาออกไปกลางแจ้ง Dianna กล่าวถึงแรงบันดาลใจ ในการเลือกเจาะช่องเปิดขนาดใหญ่ แล้วติดตั้งประตู โรงรถกระจกกรอบอลูมิเนียม
ในส่วนของผนัง ซึ่งประตูนี้จะเป็นระบบไฟฟ้า เมื่อประตูถูกม้วนขึ้นเก็บบน เพดานพื้นที่ใช้สอยภายในจะถูกเชื่อมต่อกับเฉลียง จากพื้นที่ใช้สอย 26 ตารางเมตรเพิ่มเป็น 44.5 ตารางเมตร และสร้างความต่อเนื่อง ไปยังภูมิทัศน์ภายนอก
กระจกเพิ่มอิสระสี พรางตาให้ดูกว้าง ผนังกระจกใสช่วยดึงแสง และภูมิทัศน์ภายนอกเข้ามา เป็นส่วนหนึ่งของบ้าน เพิ่มความโปร่งให้ บ้านดูกว้างเติมอิสระทั้งทางพื้นที่ และทางสายตา ประตูกระจกนิรภัย ยังทำหน้าที่เป็นผนัง บ้านที่มีระบบป้องกันภัยด้วย ภายในเน้นทาผนังสีขาว
เพื่อให้ช่วยพรางสายตา ทำให้บ้านดูไม่แคบ ส่วนการตกแต่งเน้น เครื่องเรือนที่มีหนัง และไม้ ซึ่งเป็นวัสดุที่สร้างความเชื่อมต่อ กับสิ่งที่พบในธรรมชาติ ทำให้บ้านดูผ่อนคลาย เข้ากันได้ดีกับบริบทที่ แวดล้อมบ้าน
การตกแต่งภายใน มีโซนนั่งเล่น วางโซฟาหนังสีน้ำตาล ตัวใหญ่ โต๊ะไม้ทรงกลม และเก้าอี้บุกำมะหยี่ สีเขียวในพื้นที่ รับประทานอาหาร และโต๊ะกาแฟไม้เก่าที่กลายเป็นม้านั่งใน พื้นที่นั่งเล่น ครัว ห้องน้ำ และห้องนอน ที่เรียงต่อ ๆ กัน โดยไม่มีผนังกั้น เพื่อให้ใช้งานเข้าถึงกันได้ง่าย ประตูห้องนอนห้องน้ำเน้นใช้บานเลื่อนรางแขวน เพื่อประหยัดพื้นที่ ในการเปิดเข้า-ออก
บริหารพื้นที่ให้พอดี

ห้องครัวทำเคาน์เตอร์รูปตัว L เพื่อให้มีพื้นที่เตรียม อาหารปรุงอาหารที่ไม่กีดขวาง มีตู้เก็บของสีขาว ท็อปด้วยควอตซ์สีเทาอ่อน ติดฮาร์ดแวร์ และมือดึงสีทอง เนื่องจากพื้นที่น้อย จึงต้องการเครื่องใช้ไฟฟ้า ขนาดเล็ก ดังนั้นจึงเลือกซื้อไมโครเวฟขนาดกว้าง 24 นิ้ว เตาแม่เหล็กไฟฟ้า และติดตั้งตู้เย็นใหม่ที่ขนาดไม่ใหญ่มาก ให้พอดีกับพื้นที่มี นอกจากนี้ยังต้อง การให้ห้องครัวได้รับมุมมองที่สวยงามของ พื้นที่กลางแจ้ง ดังนั้นจึงออกแบบหน้าต่าง ขนาดใหญ่ที่เปิดให้สามารถชม ทิวทัศน์ได้ชัดเจน ยามทำครัว
เมื่อถึงเวลาอาบน้ำ ก็ออกไปนอนแช่อ่าง ที่อยู่มุมหนึ่งของเฉลียงมีบานตู้คอนเทนเนอร์ เป็นฉากกั้นป้องกัน เพื่อความเป็นส่วนตัวขึ้น เหนืออ่างน้ำประดับด้วยไฟราวดวงเล็ก ๆ ให้ความระยิบระยับ เหมือนแสงดาวในตอนกลางคืน เป็นการใช้ชีวิต ที่แอบเซ็กซี่เล็ก ๆ ท่ามกลางความสวยงาม ในชนบทที่เต็มไปด้วยต้นสน และเนินเขา

สิ่งที่ต้องคำนึง ก่อนคิดจะมีบ้านตู้คอนเทนเนอร์
1.แบบบ้าน ตู้คอนเทนเนอร์ ทำมาจากอะไร มีกี่ประเภท และกี่ขนาด
สำหรับตู้คอนเทนเนอร์ มาตรฐานนั้น จะทำจากเหล็ก หรืออลูมิเนียม ซึ่งมีทั้งแบบ 2 ประตู และ 1 ประตู โดยที่บานประตู้นั้น จะระบุรายละเอียด คือ หมายเลขตู้ และน้ำหนักที่สามารถรับได้
- Garment container : ใช้สำหรับขนส่งสินค้า ที่เป็นเสื้อผ้า โดยจะมีราวไว้สำหรับแขวนเสื้อผ้า
- Refrigerator cargoes : คือตู้คอนเทนเนอร์ ที่มีเครื่องปรับอากาศตลอดระยะเวลาการขนส่งสินค้า
- Open top : คือตู้คอนเทนเนอร์ แบบไม่มีหลังคา ใช้สำหรับขนสินค้าขนาดใหญ่ ที่ไม่สามารถเข้าทางประตูได้
- Dry cargoes : ใช้บรรทุกสิ่งของ ที่มีการบรรจุลงหีบห่อ โดยไม่ต้องรักษาอุณหภูมิ
2.โครงสร้างของแบบ บ้านตู้คอนเทนเนอร์ แข็งแรงไหม
เนื่องจากตู้คอนเทนเนอร์นั้น มีความแข็งแรงในตัวอยู่แล้ว เพราะอย่างที่เราได้เห็นตามท่าเรือต่าง ๆ ที่สามารถตั้งซ้อนขึ้น ไปได้อาจถึงขั้น 10 ชั้นนั้น สามารถแบ่งส่วน ของโครงสร้างได้ ดังต่อไปนี้
- เสา และคาน ของตู้คอนเทนเนอร์ สำหรับโครงสร้างของตู้คอนเทนเนอร์นั้น จะมีลักษณะคล้ายกับโครงสร้างของบ้าน เนื่องจากตัวตู้จะมีส่วนของเสา ที่อยู่ตามมุมของตู้ ซึ่งระหว่างเสา ก็จะมีเหล็กที่ใช้เชื่อมต่อกันคล้ายกับคาน ที่เชื่อมต่อเสาคอนกรีตเข้าไว้ด้วยกัน
- ผนังเหล็ก คือ กำแพงหนา นอกจากเสา และคานเหล็กของตัวตู้บ้านตู้คอนเทนเนอร์ ที่ใช้รองรับน้ำหนักแล้วนั้น ยังมีผนังเหล็ก ที่มาในลักษณะพับไปมา จะช่วยเสริมให้ แบบบ้านตู้คอนเทนเนอร์ ดูแข็งแรงมากยิ่งขึ้น แต่ในส่วนที่ เป็นประตูนั้น จะไม่มีส่วนช่วยรับน้ำหนักใด ๆ
- พื้น และเพดาน เป็นที่แน่นอนว่า น้ำหนักต่าง ๆ นั้น จะถูกถ่ายลงมาที่พื้นโดยตรง เพราะส่วนใหญ่แล้ว จะซื้อเป็น ตู้คอนเทนเนอร์เปล่ามา และจะไม่มีพื้นไม้ ติดมาด้วยอยู่แล้ว ดังนั้น น้ำหนักต่าง ๆ จึงถูกถ่ายมาสู่ที่โครงเหล็กที่เชื่อม กับโครงสร้างหลักอีกที
3.วางตู้บนพื้นดินเลยได้ไหม
การวางตู้บนพื้นดินเลยนั้น เป็นเรื่องที่ไม่ควรทำเท่าไรนัก เพราะด้วยน้ำหนักของตู้นั้นไม่น้อยเลย ยิ่งถ้าเป็นพื้นที่ในกรุงเทพฯที่มีความอ่อนตัวสูงด้วยแล้ว ยิ่งมีโอกาสที่ตัวตู้หรืออาคารอาจจะทรุดได้ อาจจะใช้เพียงเข็มคอนกรีตหกเหลี่ยมกลวงหรือเข็มรูปตัวไอ ยาว 6 เมตร กดลงไปด้วยรถแบ็กโฮหรือแรงงานคนรองรับก่อน แล้วทำฐานรากคอนกรีตยกขึ้น 50 เซนติเมตรเหนือพื้นดิน ก็จะปลอดภัยกว่า
4.วางตู้ซ้อนกัน จะล้มคลืนลงมาหรือเปล่า
ตู้ขนส่งสินค้าเหล่านี้ถูกทำขึ้นมาเพื่อการซ้อนกันหลายๆชั้นอยู่แล้ว เพราะด้วยน้ำหนักของตัวตู้เองที่จะเป็นตัวช่วยกดน้ำหนักลงมาไม่ให้ตู้ล้มหรือพลิกได้ เพียงแต่ต้องมีการยึดเชื่อมระหว่างตู้ที่ซ้อนกันด้วยแผ่นเหล็ก กันการเคลื่อนของตู้ก็เพียงพอแล้ว PHUKET VILLA
5.ผนังเหล็กทั้งนั้น กันร้อนยังไงล่ะนี่
เราจำเป็นที่จะต้องใส่ฉนวนกันความร้อนที่ผนัง พื้น และเพดานในส่วนด้านในของตัวตู้ก่อน ฉนวนที่นิยมใช้กันอาจแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
- ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น (โพลียูรีเทนโฟม) จะมีความหนาประมาณ 8 มิลลิเมตร วิธีนี้การทำงานอาจจะช้าแต่ราคาไม่แพง
- โฟมแบบพ่น วิธีนี้จะมีการพ่นจากด้านในของตู้ การทำงานรวดเร็ว แต่ราคาอาจจะสูงขึ้นกว่าแบบแรก
อีกทางหนึ่งที่ควรทำเพื่อป้องกันความร้อนก็คือการทำหลังคาซ้อนขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง โดยการต่อโครงเหล็กกล่องหรือเหล็กกลมขึ้นไป อาจจะเป็นหลังคาเพิงหมาแหงน

6.เจาะประตู หน้าต่าง ทำได้เยอะแค่ไหน
การเจาะช่องต่างๆต้องมีการเสริมเหล็ก เป็นเหล็กรูปพรรณรูปตัว H หรือเหล็กกล่องก็ได้ บริเวณขอบทั้ง 4 ด้าน ของช่องที่เจาะเพื่อช่วยรับน้ำหนักแทนส่วนของผนังที่ถูกเจาะหายไป เหล็กเสริมเหล่านี้ก็คือส่วนของเสาเอ็นคานทับหลังของบ้านคอนกรีตนั่นเอง การเจาะช่องประตูหรือหน้าต่าง จำเป็นที่จะต้องใช้ช่างที่ชำนาญ เพราจะต้องใช้ไฟในการเจาะ บ้านทำเลดี
อ่านบทความที่หน้าสนใจ