แบบบ้านชั้นเดียว ญี่ปุ่น ให้ความเรียบง่ายดูอบอุ่น
แบบบ้านชั้นเดียว ญี่ปุ่น บ้านสไตล์ญี่ปุ่นกำลังเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก นั่นก็เพราะญี่ปุ่นมีเอกลักษณ์โดดเด่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศิลปวัฒนธรรม เทคโนโลยี อาหารการกิน การดูแลเอาใจใส่สุขภาพร่างกาย การใส่ใจรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ
รวมไปถึงการให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพมาตรฐานบ้านสไตล์ญี่ปุ่นก็เช่นเดียวกัน เป็นการออกแบบที่มุ่งเน้นความสวยงามกลมกลืนกับธรรมชาติผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบบ้านสไตล์ญี่ปุ่นยังให้ความสำคัญเรื่องความคุ้มค่าในการใช้งานทุกพื้นที่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
แต่ในขณะเดียวกัน บ้านสไตล์ญี่ปุ่นมินิมอล ก็ให้ความสำคัญกับอารมณ์และความรู้สึกของผู้อยู่อาศัยเป็นลำดับแรก ทำให้บ้านลักษณะนี้มีบรรยากาศแห่งความอบอุ่น เป็นมิตรกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คนญี่ปุ่นเชื่อกันว่าสังคมคุณภาพเริ่มจากที่บ้านและครอบครัว บ้านจัดสรร
บ้านสไตล์ญี่ปุ่นที่ไม่ว่าจะเป็นบ้านสไตล์ญี่ปุ่น โบราณ บ้านสไตล์ญี่ปุ่น 2 ชั้น จึงได้รับความสนใจทั้งการออกแบบและการตกแต่ง ที่ลงตัวกับการใช้ชีวิต อีกทั้งดีไซน์และความเรียบง่าย จึงทำให้บ้านสไตล์ญี่ปุ่นตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่เป็นอย่างดี

ความเป็นมาของแบบบ้านสไตล์ญี่ปุ่น โบราณ
สมัยก่อนการสร้างบ้านสไตล์ญี่ปุ่น โบราณแบบดั้งเดิม จะมีองค์ประกอบจากไม้และกระดาษเป็นวัสดุหลัก และการสร้างบ้านสไตล์ญี่ปุ่นนั้นสร้างขึ้นตามอาชีพพื้นฐานของเจ้าของบ้าน ที่เมื่อเรามองเห็นบ้านหลังนั้น เราจะตอบได้เลยว่าเจ้าของบ้านประกอบอาชีพอะไร อย่างเช่นหากเป็นบ้านหลังคากระเบื้อง เจ้าของบ้านจะมีอาชีพรับข้าราชการ หรือหากเป็นบ้านที่มุงหลังคาด้วยใบไม้ ใบหญ้า ฟาง ก็จะเป็นบ้านของชาวนาหรือคนทำอาชีพเกษตร เป็นต้น
แม้ว่าในปัจจุบันบ้านสไตล์ญี่ปุ่น บ้านสไตล์ญี่ปุ่น โบราณ บ้านสไตล์ญี่ปุ่น 2 ชั้น ได้ปรับเปลี่ยนไปตาม ยุคสมัยแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีการตกแต่ง หรือมีสัดส่วนที่คงไว้ถึงความเป็นญี่ปุ่นให้เห็น บ้านสไตล์ญี่ปุ่นรุ่นใหม่ยังคงมีโครงสร้างภายใน ของตกแต่ง รูปแบบการตกแต่ง ข้าวของเครื่องใช้ ยังเน้นผสมผสานชีวิตกับธรรมชาติ ที่สะท้อนวิถีวัฒนธรรมได้อย่างชัดเจน

องค์ประกอบของบ้านสไตล์ญี่ปุ่นที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์
ไม่ว่าจะเป็น บ้านสไตล์ญี่ปุ่นโบราณ บ้านสไตล์ญี่ปุ่น งบน้อย บ้านสไตล์ญี่ปุ่น 2 ชั้น หรือบ้านสไตล์ญี่ปุ่นที่ประยุกต์ กับแบบบ้านรุ่นใหม่ในปัจจุบันนั้น เราสามารถมองออกได้เลยว่าบ้านหลัง ไหนเป็นบ้านสไตล์ญี่ปุ่น ซึ่งบ้านสไตล์ญี่ปุ่นนั้นไม่หมายความเพียงแค่บ้านที่ขนาดเล็ก หรือเป็นบ้านแนวมินิมอลเพียงอย่างเดียว องค์ประกอบของบ้านสไตล์ญี่ปุ่นยังมีเอกลักษณ์อื่น ๆ ที่แสดงว่าเป็นองค์ประกอบด้วยเช่นกัน บ้านแฝด
1.ประตูทางเข้าหลักของบ้านสไตล์ญี่ปุ่นจุดเด่นที่มีมาตั้งแต่บ้านสไตล์ญี่ปุ่นโบราณ คือ เป็นประตูรั้วบ้านที่กั้นสัดส่วนระหว่างพื้นที่บ้านกับพื้นที่สาธารณะ ประตูทางเข้าหลักมักนิยมทำด้วยไม้บานใหญ่ทรงสูง และมีหลังคาครอบกันแดดกันฝน รวมถึงรั้วบ้านที่มีความสูงเพื่อความเป็นส่วนตัวของบริเวณบ้านที่มักจะสร้างด้วยหิน หรือคอนกรีต
2.หลังคาบ้านสไตล์ญี่ปุ่น
เนื่องจากเป็นประเทศที่อยู่ในร่องมรสุม สภาพอากาศของประเทศญี่ปุ่นจึงมีฝนตกชุกคล้าย ๆ กับประเทศไทยของเรา หลังคาบ้านสไตล์ญี่ปุ่นมักจะออกแบบให้ยื่นยาวออกมาจาก ตัวบ้านค่อนข้างมาก เพื่อกันแดดกันฝนไม่ให้สาดเข้าภายในบ้านเวลาเปิดประตู
3.พื้นที่สำหรับถอดรองเท้าก่อนขึ้นบ้าน
บ้านสไตล์ญี่ปุ่นกับเอกลักษณ์อีก 1 อย่างที่ชัดเจน คือ มีพื้นที่ถอด จัดเก็บรองเท้า และเปลี่ยนรองเท้าแบบแบ่งสัดส่วนชัดเจน เนื่องจากคนญี่ปุ่นนิยมใส่รองเท้าแตะในบ้าน จึงให้ความสำคัญกับ พื้นที่ตรงนี้มาก และพื้นที่สำหรับถอดรองเท้า มักจะสร้างต่ำกว่าพื้นบ้านลงมาประมาณ 1 ขั้นบันได

4.พื้นที่ใช้งานแบบอเนกประสงค์
บ้านสไตล์ญี่ปุ่นโบราณ อาจจะแบ่งห้องหับต่าง ๆ สำหรับใช้งานอย่างชัดเจนก็จริง แต่บ้านสไตล์ญี่ปุ่น ยุคใหม่นั้นฟังก์ชั่นการใช้งานของห้องก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ง่าย ๆ เช่นเดียวกัน เพื่อใช้ประโยชน์ทุกพื้นที่ให้คุ้มค่ามากที่สุด อย่างเช่น ห้องที่ปูที่นอน หมอนต่าง ๆ อุปกรณ์เหล่านี้จะถูกเ ก็บเข้าไปไว้ในตู้เมื่อไม่ใช้งาน เพื่อปรับเป็นพื้นที่นั่งเล่น รับประทานอาหาร หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ และช่วยให้บ้านได้พื้นที่โล่งกว้าง สบายตามากยิ่งขึ้น
5.ประตูเลื่อนกรอบไม้
เนื่องจากบ้านสไตล์ญี่ปุ่นส่วนใหญ่ จะมีพื้นที่จำกัดและนิยม เปิดพื้นที่เข้าหากันเพื่อความปลอดโปร่ง ประตูที่ใช้จึงเป็นประตูบานเลื่อน ที่กรอบประตูทำจากไม้ และบานประตูทำจากกระดาษ เพื่อให้แสงจากธรรมชาติลอดผ่าน เรียกได้ว่าได้ทั้งดีไซน์ความสวยงาม ประโยชน์การใช้สอย แถมยังประหยัดพลังงานอีกด้วย
6.เสื่อญี่ปุ่น หรือเสื่อทาทามิ
บ้านสไตล์ญี่ปุ่นส่วน มากจะปูพื้นบ้าน ปูที่นั่ง หรือทำเป็นที่นอน ด้วยเสื่อที่ถักมาจากหญ้าอิกุสะ หรือที่เรียกกันว่าเสื่อทาทามิ Tatami คุณสมบัติของเสื่อทาทามิคือจะช่วยให้เย็นสบาย ในยามอากาศร้อน และจะช่วยให้ความ อบอุ่นในยามที่อากาศหนาวเย็น บ้านสไตล์ญี่ปุ่นโบราณ จะใช้เสื่อแขวนนอกหน้าต่างเพื่อบังและกรองแสงส่อง เข้าภายในบ้าน ในปัจจุบันก็ปรับเป็น การใช้ไม้ไผ่ หรือไม้ระแนงแทน
7.โต๊ะญี่ปุ่น หรือโต๊ะ Kotatsu
เป็นโต๊ะพับที่สะท้อน ความเป็นญี่ปุ่นอย่างชัดเจน โดยโต๊ะญี่ปุ่นพับ ได้ที่กักเก็บอากาศร้อนไว้ใต้โต๊ะ ในช่วงอากาศหนาว การนั่งโต๊ะญี่ปุ่น จะช่วยให้เกิดความอบอุ่น และเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ของบ้านสไตล์ญี่ปุ่น นั้นสามารถพับเก็บหรือเคลื่อนย้ายได้ง่าย ทำให้ช่วยประหยัด พื้นที่เป็นอย่างดีเช่นเดียวกัน
8.อ่างอาบน้ำแบบบ้านสไตล์ญี่ปุ่น
แม้ชาวญี่ปุ่นจะนิยมอาบน้ำ ที่ห้องอาบน้ำสาธารณะกันอยู่บ้างก็จริง แต่อ่างอาบน้ำที่ทำจากไม้ หรือที่เรียกกันว่า Furo แบบบ้านสไตล์ญี่ปุ่น โบราณก็ยังคงเป็นที่นิยมเช่นกัน อ่างอาบน้ำแบบนี้ต้อง ใช้เชื้อเพลิงในการรักษาอุณหภูมิด้วยเช่นเดียวกัน บ้านเดี่ยว
บ้านสไตล์ญี่ปุ่นส่วน ใหญ่จึงมีอ่างอาบน้ำ Furo ไว้ในบ้าน แต่การมีอ่างอาบน้ำของชาวญี่ปุ่นนั้นมีไว้ เพื่อการแช่น้ำเพียงอย่าง เดียวเท่านั้น การอาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย มักจะทำนอกอ่าง หรือใช้ฝักบัว

แบบบ้านชั้นเดียวสไตล์ญี่ปุ่น
หลังจากจากบ้านไปนาน เจ้าของซึ่งไปทำงาน และอาศัยอยู่ห่างไกลได้ตัดสินใจสร้างบ้านหลังสุดท้ายนี้ ที่บ้านเกิดของเขา สำหรับคำว่า “บ้านหลังสุดท้าย” หลายคนอาจมีภาพ ในใจต่างกัน สำหรับที่นี่ขอเพียงได้มีพื้นที่ส่วนตัวที่เดินเล่นทอดน่องได้ มีวิว และธรรมชาติให้ซึมซับ อย่างใกล้ชิดทุก ๆ วัน ให้ความเรียบง่ายปลอบประโลมหัวใจ ในยามเกษียณไปจนถึงบั้นปลายของชีวิต ไม่ต้องหรูหราแต่ให้บ้านนำพา จิตวิญญาณไปสู่ความสงบที่แท้จริง
บ้านหลังคาจั่วที่ดูเหมือนศาลาโล่ง ๆ หลังนี้สร้างในเมือง Tonami จังหวัด Toyama ประเทศญี่ปุ่น ที่ตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อม ที่ดีล้อมรอบด้วย ถนนทางด้านตะวันออกและตะวันตก และมีสวนสาธารณะทาง ด้านทิศเหนือ นอกจากนี้ย่านใจกลางเมืองยังอยู่ใกล้ ๆ ทำให้เป็นทำเลที่สะดวก บริเวณนี้มีสภาพอากาศทั่วไปทาง ฝั่งทะเลญี่ปุ่น แม้ว่าจะแตกต่างกัน ไปในแต่ละปี แต่ก็มีหิมะตกมากในฤดูหนาวและท้องฟ้ามีเมฆ ปกคลุมตลอดทั้งปี
ในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ ทำให้นักออกแบบ นึกถึงบ้านชั้นเดียว ที่มีหลังคาขนาดใหญ่ที่จะห่อหุ้มพื้นที่ ชีวิตอันแสนสงบสุข อาคารเป็นแกนนอนยาวเพื่อให้ผู้คน สามารถติดต่อกันได้ หลังคามีองศาลาด เอียงสูงเพื่อให้หิมะไหลลงมาได้ง่ายไม่ติดค้างบนหลังคา ในขณะเดียวกันก็มีทางเดินดินให้ย่ำสบาย ๆ ที่ทอดยาวจากตะวันออกไปตะวันตก บ้านจึงเต็มไปด้วยบรรยากาศ สบายอย่างเป็นธรรมชาติ
ข้างบ้านทางเดินดินซึ่ง เป็นทางเข้าออกที่สะดวก จากถนนทางด้านตะวันออกและตะวันตก ซึ่งไม่เพียงแต่ใช้ เป็นจุดแทรกกลาง ระหว่างสภาพแวดล้อมภายนอกกับเฉลียงทางเดิน และพื้นที่ใช้ชีวิตภายในเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เป็นพื้นที่สำหรับทักทาย ผู้คนที่ผ่านไปมาด้วย

ภายในบ้านตกแต่งด้วยงานไม้ทั้งส่วนโครงสร้างหลังคา
ฝ้าเพดาน เสา คาน พื้น ไปจนถึงเฟอร์นิเจอร์ชิ้นหลัก ๆ แปลนบ้านส่วนกลางเป็น open plan ไม่มีผนังแบ่งเปิดพื้นที่ใช้สอยโล่ง ๆ มีครัวบิลท์อินอยู่มุมสุด ส่วนพื้นที่ว่างตรงกลางสามารถใช้งาน ได้อเนกประสงค์ไม่ว่าจะเป็นนั่งเล่น ทานอาหาร หรือ นอนพักชมวิวในวันหยุดชิล ๆ ก็ตามสบายใจ ความเรียบง่ายของพื้นที่บนความไม่ซับซ้อนนี้ ทำให้ใช้งานได้ง่ายเหมาะ กับทุกวัยไปจนถึงเกษียณ
ส่วนของห้องทำงานและห้องนอนส่วนตัวจะอยู่อีกด้านของบ้าน ซึ่งมีทางเดินปูนเปลือยนำทางเข้าไปตรงจุดนี้มีประตูบานเลื่อนเก็บในผนังแบบ pocket door ซ่อนอยู่ ทำให้เหมือนผนังเปิด-ปิดได้ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในแต่ละวันหากพลาดมุมมองดี ๆ ไปก็น่าเสียดาย ทีมงานจึงใส่ช่องเปิดขนาดใหญ่ไว้ที่ด้านสวนสาธารณะให้บ้านเปิดมุมมองออกไปสัมผัสได้ถึงการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลทั้งสี่อย่างเต็มที่ phuket property
ฝ้าเอียงตามหลังคาเป็นอีกรูปแบบการติดตั้งฝ้าที่เป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะในบ้านหลังคาจั่วและหลังคาเพิงหมาแหงน เพราะทำให้หลังคาดูสูงขึ้น บ้านจึงดูโปร่งและทำให้อากาศร้อนลอยตัวขึ้นได้ดี
แต่ก็มักมีคำถามตามมาว่าหาก ต้องการติดตั้งฉนวนกันความร้อนจะได้ไหม เพราะทั่วไปจะติดตั้ง โดยวางราบไปบนฝ้าเพดานเรียบๆ คำตอบคือหากระยะเหนือฝ้าเพดาน หรือช่องว่างระหว่าง ฝ้าเพดานกับหลังคามีระยะไม่ต่ำกว่า 1 เมตร ช่างก็จะสามารถขึ้นไปติดตั้งฉนวน กันความร้อนบนฝ้าเพดานได้ แต่ก็ไม่ควรมีความลาดชัดของหลังคามากเกินไป เพราะเก็บงานได้ยาก