บ้านสไตล์ไหนดี

บ้านสไตล์ไหนดี
บ้านสไตล์ไหนดี

บ้านสไตล์ไหนดี เลือกตามความต้องการให้ถูกใจ

บ้านสไตล์ไหนดี บ้านสวย ๆ มีความสำคัญอย่างมากต่อการอยู่อาศัย แน่นอนว่าเมื่อมีที่ดินอยู่ในมือไม่ว่าจะหลังจากซื้อที่ดินมาได้ หรือได้ที่ดินมรดก การจะสร้างบ้าน สักหลังไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ไม่ใช่แค่หาแบบบ้านสวย ๆ ได้ก็พอ เพราะบ้านนี้จะอยู่กับ เราไปอีกนานแสนนาน ด้วยต้นทุนที่ค่อนข้างสูง ระยะเวลาในการปลูกสร้าง และมีขั้นตอนที่ต้อง คำนึงถึงหลายเรื่อง ซึ่งหากเราเลือกแบบบ้านผิด ไม่ได้มาตรฐาน นั่นหมายถึง ความไม่ปลอดภัยของผู้ที่อยู่อาศัย

ดังนั้นการเลือกแบบบ้านสวย ๆ จึงมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะแบบแปลนบ้าน และแบบพิมพ์เขียว จำเป็นต้องมีลายเซ็นวิศวกร และสถาปนิกผู้ออกแบบ ก่อนยื่นขอสร้างบ้าน รวมทั้งต้องรู้เกี่ยวกับ กฎหมายด้าน โยธาธิการและผังเมือง และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายที่เกี่ยวกับ การขุดดินและถมดิน บ้านจัดสรร

เริ่มเลือกแบบบ้านสวย ๆ อย่างไรไม่ให้พลาด

สำหรับใครที่กำลัง มองหาแบบบ้าน หรือวางแผนอยาก สร้างบ้านเองสักหลัง เชื่อว่าหลายคนก็ อยากจะได้แบบบ้านสวย ๆ แต่อาจเกิดอาการเริ่มต้นไม่ถูก ควรทำอะไรก่อนดี ก่อนอื่นเลยเราต้อง วางแผนแบบบ้าน โครงสร้างคร่าว ๆ ก่อนว่าสิ่งที่ต้องการคืออะไร มีข้อจำกัดอย่างไรบ้าง ทีนี้เราก็จะพอนึกภาพแบบบ้านสวย ๆ ในใจออกแล้ว แบบบ้านรูปแบบต่าง ๆ

จะวิ่งมาในหัวเต็มไป หมดจากสถานที่ต่าง ๆ ประสบการณ์ที่เคยเจอ อันนั้นก็ชอบ อันนี้ก็ใช่ แต่แล้วแบบไหนที่ จะสามารถสร้างได้ และเป็นแบบบ้านสวย ๆ ถูกใจเราจริง ๆ ก็ต้องมาดูกันอีกที ซึ่งแบบบ้านสวย ๆ แต่ละแบบก็มีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป


การเลือกแบบบ้านสวย ๆ นั้นก็เปรียบเหมือนกำลัง มองหาคนรู้ใจ ไม่มีแบบไหนที่ดีที่สุด มีแต่แบบไหนที่ใช่ที่สุด แล้วแต่ความชอบ รสนิยม ความต้องการ และไลฟ์สไตล์ ซึ่งเมื่อต้องทำ การสร้างบ้านจริง ๆ นอกจากแบบบ้านสวย ๆ แล้วยังมีหลายปัจจัยที่ต้องคิด ทั้งเรื่องรูปแบบ สไตล์ของแบบบ้านงบประมาณในการก่อสร้างบ้าน ตามแบบที่ต้องการ ต้นทุนจากราคาวัสดุก่อสร้าง ข้อจำกัดของขนาดพื้นที่ และของตกแต่งตาม แบบบ้านที่คิดไว้  บ้านเดี่ยว

ลือกแบบบ้านสวย ๆ ที่ชอบ สไตล์ที่ใช่

แบบบ้านสวย ๆ มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ แล้วบ้านแบบไหนจะใช่ตัวเรามากที่สุด การเลือกสไตล์ของแบบบ้าน ขึ้นอยู่กับความชื่นชอบ และรูปแบบการใช้งานของแต่ละคน เพราะแบบบ้านสวย ๆ ของแต่ละคนนั้นต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น

1. บ้านสไตล์คลาสสิก (Classic Stlye)

บ้านสไตล์ไหนดี

บ้านแบบสไตล์ดั้งเดิม เน้นการตกแต่งที่หรูหรา อลังการ และความประณีต งดงามของรูปทรง ด้วยการจำลองประติมากรรม แบบกรีกโรมัน ของสไตล์ยุโรปตะวันตก ส่วนมากมักเป็นบ้านหลังใหญ่ คล้ายปราสาทราชวัง กว้างขวาง ดูมีฐานะ จุดเด่นคือการตกแต่งด้วย เสากลมแบบโรมัน รวมถึงรูปปูนปั้น โคมไฟระย้า และเครื่องทองเหลือง วัสดุที่ใช้ก่อโครงสร้างมัก เป็นคอนกรีต เสาปูน และอิฐแดง

รูปแบบหลังคาของบ้านสไตล์คลาสสิก นั้นไม่มีรูปแบบตายตัว แต่นิยมใช้หลังคาทรงปั้นหยา ทรงมะนิลา หรือทรงโดมที่ดูหรูหรา โอ่อ่า ซึ่งแน่นอนว่าข้อเสียของ บ้านสไตล์คลาสสิกนั้น ก็คือการใช้งบประมาณ ในการก่อสร้างค่อนข้างมากนั่นเอง

2.บ้านสไตล์โมเดิร์น (Modern Style)

บ้านสไตล์ไหนดี

ถ้าอยากให้บ้านดูทันสมัย แต่ชอบความเรียบง่ายต้อง สไตล์นี้เลย เพราะสไตล์โมเดิร์นเน้นการใช้ รูปทรงที่มีเหลี่ยมมุม และสีโทนสว่างอย่างสีขาว สีเทาอ่อน สีเงินของกระจก และอาจแทรกสีดำจากโลหะ หรือสีส้มอมน้ำตาล จากผนังอิฐแดงเข้าไปโดยไมมี การปิดผิววัสดุ หรือทาสีปกปิด ให้น้อยที่สุด ทำให้บ้านดูโล่ง โปร่ง สะอาดตา การตกแต่งส่วนมาก จะเลือกใช้เฟอ์นิเจอร์ที่ มีดีไซน์เรียบ ๆ แต่เก๋ ไม่เหมือนใคร และเน้นเรื่องประโยชน์ ใช้สอยที่เหมาะสมกับพื้นที่  บ้านเดี่ยว

หลังคาของ บ้านสไตล์โมเดิร์นนั้น จะมีความแตกต่าง จากหลังคาของบ้านสไตล์อื่น ๆ เพราะเป็นหลังคาแบบเรียบ ก็คือไม่มีการปูกระเบื้องหลังคานั่นแหละครับ เพราะใช้เพดานของ ตัวบ้านแทนการมุงหลังคาเลย หรือบางครั้งก็ใช้เป็นหลังคาทรง เพิงหมาแหงน หลังคาเรียบ ๆ ที่ลาดต่ำไปด้านใด ด้านหนึ่ง บ้านสไตล์โมเดิร์น จึงค่อนข้างร้อน และฝนสาดได้ง่าย เพราะไม่มีหลังคามาช่วยบัง

ข้อดีของบ้านสไตล์โมเดิร์น

  • บ้านสไตล์โมเดิร์นเน้นความโปร่งโล่ง มีการออกแบบพื้นที่โล่ง เพื่อการใช้สอย ไม่นิยมก่อผนังกั้นมากเกินไป
  • มีการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ เป็นระเบียบ เรียบง่าย ไม่เยอะ
  • การสร้างผนังแบบปูนเปลือย ที่ไม่จำเป็นต้องทาสี
  • พื้นบ้านที่ไม่ต้องมีการปูกระเบื้อง
  • ดีไซน์เรียบหรู ทันสมัย ดูแลรักษาง่าย
  • บ้านสไตล์โมเดิร์นมีการประหยัดงบประมาณ
  • โครงสร้างบ้านก็ไม่ซับซ้อนมาก

ข้อเสียของบ้านสไตล์โมเดิร์น

  • บ้านสไตล์โมเดิร์นดูแข็ง ไม่อบอุ่นเท่าสไตล์อื่นๆ
  • องค์ประกอบต่าง ๆ ไม่เหมาะสมกับสภาพ อากาศร้อนในเมืองไทย
  • กระจกบานใหญ่ อาจทำให้แดด และความร้อนเข้าบ้านมากเกินไป
  • บ้านทรุดโทรมได้ง่าย

3.บ้านสไตล์โคโรเนียล (Colonial Style)

บ้านสไตล์โคโรเนียล

Colonial มาจากคำว่า Colony Architecture เป็นสถาปัตยกรรม ที่มาจากการเข้าไปยึดครองของตะวันตก เกิดเป็นการสร้างบ้านแบบตะวันตกผสมกับท้องถิ่นที่เป็นอาณานิคม คนไทยในสมัยอดีต มักเรียกกันว่า “ตึกฝรั่ง” นิยมก่อสร้าง และตกแต่งด้วยไม้ หรือวัสดุทดแทนไม้ ฉลุลายสวยงาม ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากการตกแต่ง สไตล์คลาสสิก แต่มีการลดทอนความ หรูหราลง

ลักษณะเด่นของสไตล์นี้คือ มีระเบียงกว้าง และตีผนังไม้ซ้อนทับ ผนังคอนกรีต แทรกด้วยเสาปูนสลักแบบโรมัน และเน้นการใช้สีโทนสว่าง เช่น สีขาว สีครีม สีฟ้าอ่อน สีชมพูอ่อน ที่ดูอ่อนโยน รูปแบบหลังคา ในบ้านสไตล์ โคโรเนียล มักเป็นหลังคาทรงหน้าจั่ว ทรงปั้นหยา ทรงมะนิลา หรือทรงอิสระที่เข้ากับรูปแบบบ้าน และสามารถกันแดด กันฝนได้ดี บ้านแฝด 

4.บ้านสไตล์ไทยประยุกต์ (Thai Oriental Style)

บ้านสไตล์ไทยประยุกต์

แบบบ้านที่สะท้อนถึงศิลปะ วัฒนธรรมของไทย และการเป็นอยู่ในสมัยอดีต โดยการออกแบบนั้น ใช้ลักษณะพื้นฐาน จากบ้านทรงไทย ผสมผสานกับการออกแบบสมัยใหม่ เป็นบ้านที่ดูทันสมัย แต่มีกลิ่นอายแบบดั้งเดิม วัสดุที่ใช้ก่อสร้างตัวบ้านอาจเป็นผนังอิฐแดง ก่อฉาบปูนทั้งหลัง หรือสำหรับบ้าน 2 ชั้น อาจแบ่งเป็นผนังปูนชั้นล่าง และชั้นบนเป็นผนังไม้ ตกแต่งด้วยหน้าต่างบานใหญ่ เพื่อรับอากาศภายนอก อาจมีช่องเปิด หรือพื้นที่ตรงกลาง ใช้เป็นพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมต่าง ๆ ของคนในครอบครัว

ส่วนรูปแบบของหลังคา จะใช้รูปทรงหน้าจั่วสูง หรือทรงปั้นหยา มุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา อาจเป็นกระเบื้องดิน เผาเกล็ดปลา กระเบื้องดินเผาสุโขทัย และกระเบื้องหม่อม สีธรรมชาติ หรือสีเคลือบน้ำตาล เม็ดมะขามแบบดั้งเดิม ให้ความรู้สึกแบบสไตล์ไทย ๆ

บ้านไทยประยุกต์สวยๆ

เหตุผล ที่คุณต้องสร้างบ้านไทยประยุกต์

1.รูปแบบเป็นเอกลักษณ์ สะท้อนความเป็นไทย หลังคาทรงจั่วพร้อมผสมผสานกับตัวบ้านที่เป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น รักษาความสง่างามแบบไทยๆ ที่ทรงคุณค่า

2.ออกแบบได้ตามใจ แต่ยังคงเอกลักษณ์ความเป็นไทย ผนังก่ออิฐฉาบปูนตัดกับขอบประตู และบานหน้าต่างที่เป็นไม้ พร้อมหลังคาทรงสูงเล่นระดับคงเอกลักษณ์โดดเด่น

3.กลมกลืน เป็นธรรมชาติ ด้วยหลังคาลอนพลิ้วสวยในสีเอิร์ธโทนทำให้บ้านดูเป็นคู่แท้กับธรรมชาติ phuket property

4.อบอุ่น เหมาะกับครอบครัวคนไทย มีพื้นที่ลานเอนกประสงค์ใช้สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้กับสมาชิกในครอบครัว

5.เหมาะกับสภาพภูมิอากาศไทย ระบายอากาศได้ดีเพราะมีหน้าต่างที่สามารถเปิดรับลมได้รอบทิศทาง

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *